Category Archives: Curriculum

แนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ทฤษฎีหลักสูตรในแผนการศึกษาของประเทศไทย

แผนการศึกษาแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2494)  ถึงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2535) ส่วนใหญ่มักจะใช้ทฤษฎีหลักสูตรทำหน้าที่บรรยายในหมวดที่ 1 (หลักการ),  ทำหน้าที่ควบคุมในหมวดที่ 1 (ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา),  ทำหน้าที่อธิบายในหมวดที่ 4 (แนวการจัดการศึกษา)  และทำหน้าที่แนะนำให้/กำหนดให้ ในหมวดที่ 2 (ระบบการศึกษา) และหมวดที่ 3 (นโยบายการจัดการศึกษา)

 

วิเคราะห์ พ.ร.บ. การศึกษาของไทยกับทฤษฎีหลักสูตร 

พ.ร.บ. การศึกษาของไทย เมื่อวิเคราะห์แต่ละหมวดแล้ว มีความสอดคล้องกับทฤษฎีหลักสูตร  ดังนี้

หมวด

รายการ

สอดคล้องกับ  (/)

ทฤษฎี

แมคโดนัลด์

ทฤษฎี

จอห์นสัน

ทฤษฎี

วอล์คเกอร์

1

บททั่วไป  ความมุ่งหมายและหลักการ

 –

/

2

สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา

/

 –

3

ระบบการศึกษา

/

 –

4

แนวการจัดการศึกษา

/

/

/

5

การบริหารและการจัดการศึกษา

/

 –

6

มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

/

/

7

ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

/

8

ทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา

 –

/

9

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

 –

/

บทเฉพาะกาล

 –

/

 

เจ้าพ่อการตลาด กับ การศึกษา

เรื่อง “เจ้าพ่อการตลาด”  ของคุณไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ  เป็นการกล่าวถึงชีวประวัติของพณฯท่านสมชาย นายกรัฐมนตรีของประเทศปาซีเฟีย ซึ่งมีชีวิตที่ผาดโผน แต่ได้รับโอกาส และใช้โอกาสเหล่านั้นอย่างคุ้มค่า

“เจ้าพ่อการตลาด” ของคุณไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ เป็นหนังสือในสมัยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ามีความทันสมัย แต่ขณะนี้ยุคโลกดิจิตอลแล้ว แต่เนื้อหาภายในหนังสือยังเชื่อมโยงกับโลกยุคปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจทั้งในประเด็นของการตลาด ซึ่งเป็นแก่นหลักของหนังสือ และยังมีมุมมองอื่นๆ ที่น่าสนใจ

หากเปรียบเทียบกับการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร กับสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังสือ พบว่า ช่วงหนึ่งของชีวิตตัวเอกของเรื่อง พณฯท่านสมชาย ได้รับโอกาสไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้ พณฯท่านสมชาย ได้พบว่า การเรียนรู้ตามความสนใจนั้น ทำให้ได้พบคนที่เข้าใจในเนื้อหา บริบทเดียวกัน

กลวิธีการคิดของพณฯท่านสมชาย น่าสนใจตั้งแต่สมัยที่ท่านยังอยู่ประเทศไทย สอดคล้องกับสุภาษิตที่ว่า เราหว่านพืช ต้องหวังผล  ทำสิ่งใดต้องมองผลที่จะได้รับ

หลักสูตรก็เช่นกัน เป็นการวางแผนการดำเนินการเพื่่อให้ไปถึงผลที่ตั้งไว่้ ซึ่งก็คือ ลักษณะของผู้เรียนที่คาดหวังไว้ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จากข้อมูลหลักฐานปรัชญาการศึกษา มนุษยวิทยา สังคมศาสตร์ และบริบทสังคม ซึ่งต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่อาจได้มาจากการวิจัย การทดลอง การทำ best practice  เป็นต้น

หลักสูตรที่ พณฯ ท่านสมชายเรียน เป็นหลักสูตรที่เน้นการอภิปราย และรวมคนที่มีภูมิรู้แตกต่างกัน ทำให้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ดึงความสามารถภายในแต่ละคน เพื่อนำเสนอมโนทัศน์และแนวทางในการดำเนินการเพื่อไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้คือ การมีวิสัยทัศน์ มองเห็นสิ่งที่คาดหวัง อย่างชัดเจนและดำเนินการอย่างตั้งใจและมุ่งมั่น  นอกจากนี้ ยังรวมถึงการหมายถึงการทำงานใดๆ ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้โดยลำพัง ต้องอาศัยผู้สนับสนุน ทีมงานเพื่่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ฉะนั้น การมีสังคม จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนงานใดๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม

วิพากษ์นิยามหลักสูตร

นักวิชาการส่วนใหญ่ให้นิยามของหลักสูตรไว้สอดคล้องกับรากศัพท์เดิมของ curriculum ที่มาจากภาษาลาตินว่า  race – course หมายถึง  เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง  หลักสูตรจึงเป็นมวลประสบการณ์ที่จะจัดให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้  ดังนั้นหลักสูตรควรสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะเป็นผู้รอบรู้ที่จะคัดสรรประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน  ในทางกลับกันหากคัดสรรประสบการณ์ที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้เรียนจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ล่าช้า หรือสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

หลักสูตร คือ…

1.1         สรุปนิยามของหลักสูตร  (curriculum)  (หน้า 26)

หลักสูตร คือ ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจัดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า เปรียบเสมือน “ลู่วิ่ง” ที่ผู้เรียนจะต้องออกวิ่งไปให้ถึงจุดหมายที่กำหนดไว้

อ้างอิง หลักการการพัฒนาหลักสูตร

http://scholar.lib.vt.edu/ejournals/JITE/v32n2/hansen.html

โดย กัญญาพัฒน์ มามาตร 56254902

1 หลักสูตร 2 มุมมอง

จาก Exemplars of Curriculum Theory
ระบุถึงแนวคิดของการเป็นหลักสูตรว่ามี 2 มุมมองใหญ่ ๆ และระบุถึง ประเภทย่อย ได้แก่ หลักสูตรในมุมมอง Planned curriculum vs Expreienced curriculum  ซึ่งต่างกันตรงที่การเป็นหลักสูตรตามสร้างขึ้นตามความคาดหวังและหลักสูตรที่สร้างขึ้นตามผลผลิต(ผู้เรียน)

โดย กัญญาพัฒน์ มามาตร 56254902

หลักสูตร คือ….

                  หลักสูตรเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทำให้ปรัชญาหรือความมุ่งหมายทางการศึกษาบรรลุความมุ่งหมายเพราะหลักสูตรเป็นตัวกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ อีกทั้งเป็นการกำหนดแนวทางในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมในอันที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญในทุกๆด้าน

ความหมายของหลักสูตร

               คำว่า “หลักสูตร” หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “ Curriculum ” ได้มีนักวิชาการทางการศึกษาได้ให้คำนิยามหรือความหมายของหลักสูตรไว้หลายทัศนะดังนี้

                    ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 1272) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงประมวลวิชาและกิจกรรมต่างๆที่กำหนดไว้ในสถานศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

                    ส่วน เกล็น  แฮนส์ (Glen Hass, 1980 อ้างถึงใน ธำรง บัวศรี, 2542 : 4)กล่าวว่า หลักสูตรหมายถึงมวลประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากโปรแกรมการศึกษา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยอาศัยกรอบของทฤษฎีและการวิจัยในอดีตและปัจจุบันเป็นพื้นฐาน

                    สำหรับ ธำรง บัวศรี (2542 : 7) ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจุดหมายการจัดเนื้อหา กิจกรรมและมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้

                    ฉะนั้น หลักสูตร จึงหมายถึง ประสบการณ์ ที่เป็นเนื้อหา สาระสำคัญ กิจกรรมต่างๆ ที่ออกแบบขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมาย ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข

                     และหากจะเปรียบเทียบ หลักสูตรกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นหน้าที่ของหลักสูตรชัดเจน  ก็น่าจะเปรียบเทียบกับ “ต้นไม้” ที่ มวลประสบการณ์สามารถเติบโต พัฒนา เปลี่ยนแปลงความสูง ขยายกิ่งก้านอย่างต้นไม้  และออกแบบโดยการอาศัยทฤษฎีและการวิจัย ซึ่งก็เสมือนปุ๋ย อาหาร น้ำที่เราต้องใส่ให้ต้นไม้ได้เจริญเติบโตอย่างที่เราต้องการ

อ้างอิง ความรู้จาก : http://www.kroobannok.com/39838